2019-07-12 11:20:06 ใน News » 0 13973 วิธีการใช้งานเครื่องยิงตะปูใช้ลม
http://www.thaicarpenter.com
1. หยอดน้ำมันปืนลมก่อนใช้งานทุกครั้ง
ก่อนใช้งานปืมลมทุกครั้ง หยอดน้ำมันปืนลม 2-3 หยดเข้าที่ทางลมเข้า เพื่อยืดอายุการใช้งานของปืนลม
2. เสียบสายลมเข้ากับตัวปืน ใช้ปั๊มลมไม่เกิน 8 BAR
- ใช้ลมที่แห้งและสะอาดจากปั๊มลม
- ให้แรงดันลมอยู่ที่ 6-8 Bar (90-120 Psi)
- ต่อชุดดักน้ำส่งน้ำมันที่ปั๊มลม เพื่อให้ได้ลมที่สะอาดและแรงดันคงที่
- ถ้าแรงดันลมน้อยกว่า 6 Bar ตะปูจะยิงไม่จม
- ถ้าแรงดันลมมากกว่า 8 Bar ปืมลมอาจชำรุดและระเบิดได้
3. การบรรจุตะปูขาเดี่ยว และขาคู่
จากรูป 3.1 ใช้มือขวาจับที่ตัวปืน และมือซ้ายปลดล็อคท้ายแล้วเลื่อนรางปืนออกมา
จากรูป 3.2 ใส่ตะปูในรางปืน ให้ตะปูด้านที่แหลมที่สุดหันไปทางเดียวกับปากปืน ผลักรางปืนเลื่อนกลับที่เดิม
4. วิธีการยิง
กดปากปืนติดกับชิ้นงานแล้วจึงยิง อย่ายิงโดยปากปืนไม่ติดกับชิ้นงาน เพราะจะยิงตะปูไม่จม และอาจเกิดอันตรายได้
* เพื่อเพิ่มแรงยิง ให้ใช้อีกมือกดที่หัวปืน
* ปืนที่มี SAFETY ที่ปากปืน ให้กดปากปืนกับชิ้นงานจึงจะยิงได้
* ปืนที่มี SAFETY ที่ไกปืน ให้ปลดล็อคก่อน จึงจะใช้งานได้
วิธีการยิง ให้จรดปากปืนที่ชิ้นงาน เพื่อที่ตะปูจะได้จมลงชิ้นงานสนิท สำหรับปืนที่มีแรงดันสูงๆ เช่นพวกยิงคอนกรีต แนะนำให้เอามืออีกข้างจับที่ปากปืนไว้ เพื่อป้องกันแรงดีด
กฎแห่งความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือยึดตรึงด้วยแรงระเบิด
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการใช้เครื่องมืองานช่าง คือการใช้ของให้ตรงกับงาน และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของงาน เนื่องจากปืนลมยิงตะปูเมื่อใช้งานแล้วจะค่อนข้างอันตราย การใช้งานในแต่ละครั้งควรใช้งานด้วยความระมัดระวัง มีดังนี้
อ้างอิงที่ :
http://www.skills2services.com
- ก่อนใช้จะต้องแน่ใจว่าได้ทำความคุ้นเคยกับลักษณะความปลอดภัย และข้อจำกัดต่างๆ และได้ฝึกการใช้งานที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์แล้ว ขอแนะนำว่าผู้ใช้ทุกคนจะต้องมีประกาศนียบัตรที่ออกให้โดยบริษัทผู้ผลิต เครื่องมือ ซึ่งจะเป็นเครื่องรับประกันได้ว่าผู้ใช้เข้าใจถึงวิธีการใช้งานได้อย่างดี มีการแสดงความสามารถในการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย
- ตรวจสอบเครื่องมือโดยละเอียดก่อนใช้งาน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเครื่องมืออยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
- สวมแว่นตา ถุงมือ หมวกนิรภัย และอุปกรณ์ป้องกัน เครื่องแต่งกายอื่นๆ ทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
- อย่าพยายามยิงวัสดุยึดตรึงที่มีความแข็งน้อยกว่าพื้นที่ยึดตรึง เช่น อิฐหรือกระเบื้อง (glazed brick or tile) เหล็กสปริง (spring steel) เหล็กเหนียวหล่อ (cast steel) และเหล็กหล่อ (cast iron) เป็นต้น ถ้าสงสัยให้ทดลองยิงดูก่อน ถ้าปลายวัสดุยึดตรึงที่ยิงท่อ (blunted) ก็แสดงว่าพื้นที่ยิงแข็งกว่าวัสดุยึดตรึงมาก แต่ถ้าแตกละเอียด (shatter) ก็แสดงว่าพื้นที่ยิงเปราะ (brittle)
- อย่าใช้เครื่องมือกับเหล็กที่มีความหนาน้อยกว่า 3/16 นิ้ว
- ยิงวัสดุยึดตรึงให้ห่างจากแนวเชื่อมให้น้อยกว่า 2 นิ้ว เนื่องจากแนวเชื่อมจะมีความแข็งสูงเกินกว่าที่วัสดุยึดตรึงใดๆ จะแทรกตัวเข้าไปได้
- ยิงวัสดุยึดตรึงให้ห่างจากขอบของชิ้นงานที่ทำจากเหล็กไม่น้อยกว่า ½ นิ้ว
- ปฏิบัติตามคำแนะนำในเรื่องความรุนแรงของประจุและขนาดของวัสดุยึดตรึงจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือเท่านั้น
- ยิงวัสดุยึดตรึงให้ห่างจากขอบของแผ่นคอนกรีตไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว การยิงในระยะที่น้อยกว่า 3 นิ้ว อาจทำให้แผ่นคอนกรีตแตกร้าวได้
- ติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายเสมอกับเครื่องมือแบบความเร็วสูง
- ถ้าไม่แน่ใจในความแรงของประจุของกระสุนปืนที่เลือกใช้ว่าถูกต้องหรือไม่ ให้ทดลองใช้กระสุนปืนที่มีความแรงอ่อนที่สุดดูก่อน แล้วดูการแทรกตัวของวัสดุยึดตรึง ถ้าการแทรกตัวไม่ดีก็ค่อยๆเพิ่มความแรงขึ้นจนได้ตามต้องการ
- อย่าพยายามยิงวัสดุยึดตรึงเข้าไปในรูที่ได้เจาะไว้ล่วงหน้า
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตอย่างเคร่งครัดในการใช้เครื่องมือ
- ให้ถอดกระสุนปืนและวัสดุยึดตรึงออกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้เครื่องมือ ทำความสะอาดและเก็บไว้ในที่ๆ เหมาะสมหลังการบริการในแต่ละวัน
- ก่อนที่จะทำการยิงจะต้องแน่ใจก่อนว่าปากลำกล้องปืนของเครื่องมือกดแน่นและตั้งได้ฉากกับพื้นที่ทำงาน
- ปฏิบัติกับเครื่องมือเหมือนกับปฏิบัติกับอาวุธปืน และอย่างเล็งเครื่องมือไปยังบุคคลอื่น